ในสมัยก่อนถ้าพบว่าผู้ใกล้ชิดสักคนติดเชื้อโรคเอดส์จะต้องถูกปกปิดเป็นความลับไม่ให้ใครล่วงรู้ เพราะกลัวสังคมตั้งข้อรังเกียจ เป็นเหตุให้ผู้ป่วยหลายคนหมดกำลังใจที่จะต่อสู้โรคเพื่อมีชีวิตอยู่ต่อไป แต่พอในยุคปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้นทำให้ผู้ป่วยได้รับการยอมรับจากสังคม รวมทั้งมีการค้นพบยาต้านไวรัสเอดส์ที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาว ดังนั้นหากว่าใครมีผู้ใกล้ชิดจึงควรเรียนรู้วิธีดูแลผู้ป่วยตามขั้นตอนเหล่านี้
วิธีการดูแลผู้ป่วย
โดยปกติผู้ป่วยโรคเอดส์ไม่ต้องการยอมรับว่าตัวเองติดเชื้อ HIV และไม่ต้องการเป็นภาระกับผู้อื่น ฉะนั้นเราจึงควรให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสช่วยเหลือตนเองมากที่สุด โดยเฉพาะการอาบน้ำ การรับประทานอาหาร จัดหาห้องให้มีความเป็นส่วนตัวสะอาด แสงส่องเข้าถึง และควรอยู่ใกล้ห้องน้ำพร้อมจัดทิชชู่ ผ้าเช็ดตัวไว้ให้พร้อม แต่ถ้าหากผู้ป่วยเดินไม่ได้ต้อวพยานามพลอกตัวผู้ป่วยทุกสองชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ
แผลกดทับ
แผลกดทับมักจะเกิดขึ้นที่บริเวณก้น ส้นเท้า สะบัก หรือบริเวณที่ถูกกดทับนานเกิน 2 ชั่วโมง วิธีแก้ไขก็ให้หาเตียงลมหรือเตียงน้ำมาให้กับผู้ป่วย ผ้าปูเตียงต้องแห้งและไม่มีรอยย่น หมั่นนวดบริเวณที่มีแผลกดทับอย่างสม่ำเสมอหากพบว่าผิวหนังเกิดรอยแดงหรือมีแผลต้องรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
อาหารสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV
ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติยิ่งมากก็จะยิ่งเป็นผลดี และควรรับประทานอาหารให้มีความหลากหลาย แต่ก็มีข้อควรระวังคือ
- ห้ามดื่มนมที่ยังไม่ปลอดเชื้อ
- ห้ามรับประทานไข่ดิบ อย่าง มายองเนส
- รับประทานเนื้อสุกโดยไม่มีเนื้อแดงเจือปน
- ไม่รับประทานปลาที่สุกๆดิบๆ
- อาหารต้องสะอาด ปลอดเชื้อ และปรุงสดใหม่
- อย่าให้อาหารที่เตรียมไว้ปนด้วยเลือดวัวหรือเลือดหมู
- อาหารร้อนควรทานขณะร้อน ส่วนอาหารเย็นต้องทานตอนเย็น
การออกกำลังกาย
ควรจัดให้ผู้ป่วยมีการออกกำลังกายถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ที่นอนติดเตียงก็สามารถออกกำลังกายได้ โดยการขยับแขน ขา ข้อทุกข้อในร่างกายเพื่อป้องกันโรคข้อติด และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังเนื้อเยื่อป้องกันแผลกดทับที่จะเกิดขึ้น
การหายใจ
กรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากควรให้ผู้ป่วยนั่งเอาหลังพิงหมอน แล้วถ้าพบเสมหะซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถขจัดออกมาเองได้ ผู้ดูแลจะต้องช่วยด้วยการเคาะปอดและดูดเสมหะออกมา
ถึงแม้การดูแลผู้ป่วยจะมีขั้นตอนกระบวนการมากมาย และทำให้ผู้ดูแลรู้สึกเหนื่อยและท้อไปบ้าง แต่ถ้าจะเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยซึ่งอาจจะเป็นคนรักหรือญาติสนิทได้มีอายุที่ยืนยาวอยู่กับเราไปนานๆมากขึ้นก็คงจะดีเลยทีเดียว